ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา

  ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิด มีอยู่ ๒ ฐานะ คือ ฐานะผู้ต้องหา โดยถูกหาว่าได้ทำผิดแต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล กับฐานะจำเลย คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้ทำผิดอาญาซึ๋งได้ถูกฟ้องศาลแล้ว

     โดยที่คนทุกคน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ดังนั้น ในกรณีของคนที่ถูกกล้าวหาว่าได้กระทำผิดอาญาจึงได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิด ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงต้องปฎิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้รับการสันนิษฐานไว้แล้วว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างมีมนุษยธรรมและตามความเหมาะสม เช่น จะถูกทรมานหรือได้รับการกระทำที่โหดร้ายผิดมนุษย์จากเจ้าหน้าที่หรือศาลไม่ได้ แต่ต้องได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่และศาลอย่างเป็นธรรมและเปิดเผลในความผิดที่ตนถูกกล่าวหาอีกด้วย
     ตามกฎหมายนี้ สิทธิของผู้ต้องหากับจำเลยแ่ตกต่างกันบ้าง ดังกล่าวต่อไปนี้
     สิทธิของผู้ต้องหา
     ๑. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุม โดยไม่มีเหตุอันสมควร เช่น ไม่มีการหลบหนี
     ๒. สิทธิที่ได้รับแจ้งจากตำรวจผู้จับว่า ถูกจับในความผิดอะไรและบอกถึงสิทธิต่าง ๆ ของตนซึ่งกฎหมายคุ้มครองให้
     ๓. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของตำรวจในการสอบสวน เว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
     ๔. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกให้รับสารภาพตามที่ถูกกล่าวหาหรือตอบคำถามที่เป็นผลแสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน
     ๕. สิทธิขอประกันตัว และการเรียกประกันตัว เช่น ที่ดินหรือเงินสด ตำรวจจะเรียกสูงเกินไปไม่ได้
     ๖. สิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการหาทนายให้ ถ้าเป็นคนยากจนไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะจัดหาทนายความสำหรับตนเองได้
     ๗. สิทธิที่จะถูกควบคุมหรือขังเฉพาะที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้เท่านั้น และอาจร้องขอให้ปล่อยได้ถ้าถูกคุมขังที่ไม่ถูกต้อง
     ๘. สิทธิที่ได้รับการบำบัดรักษาให้หายก่อนและหยุดการสอบสวนไว้ หากว่าเกินบ้าขึ้นขณะสอบสวนและไม่อาจต่อสู้คดีได้
     สิทธิของจำเลย
     ๑. แต่งทนายสู้คดีได้ ทนายจำเลยมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลย
     ๒. พูดจากับทนายหรือผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง
     ๓. ตรวจดูสำนวนของศาล และขอคัดสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
     ๔. ตรวจดูสิ่งของที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ ได้
     ๕. ศาลต้องส่งเสำเนาฟ้องให้แก่จำเลย
     ๖. ศาลต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้เจำเลยฟัง และถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรก็ได้ จำเลยจะให้การอย่างไร หรือไม่ยอมให้
     ๗. ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ก่อนเริ่มต้นพิจารณาคดี ศาลต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ก่อน ถ้าจำเลยยังไม่มีทนายศาลต้องตั้งทนายให้ หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงจำคุกตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงประหารชีวิต และในคดีที่จำเลยอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาศาลต้องถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนาย ศาลต้องตั้งทนายให้จำเลยก็ได้
     ๘. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง ๑๐ ปี ถ้าจำเลยแถลงต่อศาลว่า จำเลยยากจนและต้องการทนาย ศาลต้องตั้งทนายให้จำเลย แต่ในกรณีนี้ศาลอาจไต่สวนเพื่อให้ได้ความว่า จำเลยยากจนจริงก่อนตั้งทนายให้จำเลยก็ได้
     ๙. เมื่อฟ้องจำเลยต่อศาลแล้วและจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้วก่อนศาลชั้นตันตัดสินถ้าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลต้องถามจำเลยว่า จะคัดค้านหรือไม่ ถ้าจำเลยต้องคัดค้านการถอนฟ้อง ศาลก็จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
     แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ไม่ว่าโจทก์จะถอนฟ้องในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้าจำเลยคัดค้าน ศาลก็จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง