โดเรมอน ไม่มีลิขสิทธิ์..บางส่วนนะครับ..แล้วน่ะ หมดอายุการคุ้มครองแล้ว

...สกรีนเสื้อผ้าขายได้แล้ว ศิลปประยุกต์...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่   5756/2551
พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสงคราม     โจทก์
นายครรชิต หรือแม็ก อุดมผล     จำเลย
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 22

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 31, 61, 70, 75, 76 และให้ผ้าเช็ดหน้า กระเป๋าสตางค์ พัด พัดลม และที่คลุมผมอาบน้ำ ของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสั่งให้จ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่ง เป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์
         จำเลยให้การรับสารภาพ
         ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง
         โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
         ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่า งานตามฟ้องยังเป็นงานที่มีลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่ นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้า
ลักษณะงานตามฟ้องจึงเข้าลักษณะเป็นงานศิลปประยุกต์ กล่าวคือ งานที่นำเอางานภาพการ์ตูนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณ ค่าของตัว งานดังกล่าวนั้น โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามของคำว่า งานศิลปประยุกต์ ในมาตรา 4 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เมื่อตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องระบุไว้ว่า งานของผู้เสียหายมีการโฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น เมื่องานศิลปประยุกต์ตามมาตรา 22 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บัญญัติไว้ว่าลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก เมื่องานตามฟ้องมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวซึ่งมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537
ขณะเกิดเหตุตามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้องจึงไม่มีลิขสิทธิ์อีก ต่อไป
การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตามฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์มา นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วยในผล กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไปเพราะไม่อาจ เปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีไปได้  อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
         พิพากษายืน
( ฐานันท์ วรรณโกวิท - พลรัตน์ ประทุมทาน - ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช )
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นายธัชพงศ์ วิสุทธิสังวร
****************************************************************************************************
คำพิพากษาศาลฎีกาที่   3045/2551
พนักงานอัยการจังหวัดพะเยา โจทก์
นายเชิดชัย ภูคงกิ่ง จำเลย
พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474 มาตรา 14
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 3, 50
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 3, 19, 78
   โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 31, 61, 69, 70, 75, 76 และ 78 ให้สินค้าเสื้อยืดเด็ก จำนวน 2 ตัว ของกลางที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ และสั่งให้จ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่ง เป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์
         จำเลยให้การรับสารภาพ
         ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง
         โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
         ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังยุติว่า บริษัทฟูจิโกะ - เอฟ - ฟูจิโอะ โปร จำกัด ผู้เสียหาย เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้สร้างสรรค์งานศิลปกรรมภาพการ์ตูน โดราเอมอน งานดังกล่าวมีการโฆษณาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภาคีแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย จึงเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและ ศิลปกรรม พุทธศักราช 2474
โดยมีอายุการคุ้มครองตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว คือ 30 ปี นับแต่วันโฆษณา ซึ่งครบกำหนด 30 ปี ในวันที่ 1 ธันวาคม 2542
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มีผลใช้บังคับวันที่ 19 ธันวาคม 2521 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มีผลใช้บังคับวันที่ 21 มีนาคม 2538
         มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้ งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนโดราเอมอนของผู้ เสียหายตามฟ ้องยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 วรรคท้ายหรือไม่ เห็นว่า แม้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาล บัญญัติว่า งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 หรือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ในวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนโดราเอมอนของผู้ เสียหายตามฟ ้องเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและ ศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 และครบกำหนดอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 30 ปี นับแต่วันโฆษณาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันที่ 1 ธันวาคม 2542 งานดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นอายุความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในวันที่พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ จึงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ อยู่แล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ย่อมได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ไว้ใน หมวด 1 โดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วน กล่าวคือ งานอันมีลิขสิทธิ์ การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์ และข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นหมวดหมู่ในลักษณะเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป ดังนั้นการได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของงานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 จึงหมายความรวมถึงการได้รับการคุ้มครองภายใต้กำหนดอายุแห่งการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ตามพ ระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 ถึงมาตรา 26 ด้วย เมื่องานสร้างสรรค์ตามฟ้องเป็นกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลและมีการ โฆษณางานดั งกล่าวแล้ว จึงมีอายุแห่งความคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปี นับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 วรรคท้าย ส่วนการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า งานอันมีลิขสิทธิ์อยู่แล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ให้ได้รับความคุ้มครองต่อไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 นั้น มีความหมายเพียงว่างานนั้นยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไป แต่มิได้มีผลเป็นการขยายอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้แก่งานอันมี ลิขสิทธิ์นั้น เป็นการตีความยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราช บัญญัติลิ ขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาใช้บังคับแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและ ศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 เพียงส่วนเดียว คือ อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ โดยให้ใช้อายุคุ้มครอง 30 ปี นับแต่วันโฆษณา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 โดยไม่ปรากฏในคำวินิจฉัยว่ามีหลักเกณฑ์และเหตุผลพิเศษใดในการแบ่งแยกการให้ ความคุ้มค รองเป็นสองพระราชบัญญัติเช่นนั้น นอกจากนี้ การตีความดังกล่าวยังมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมี ลิขสิทธิ์ ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับปรัชญาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มุ่งส่ง เสริมให้มีก ารสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมีค่าตอบแทนเป็นแรงจูงใจในการ สร้างสรรค์ง าน ทั้งการตีความจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติพระ ราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่ให้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ว่า เหตุที่บัญญัติพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากบทบัญญัติต่าง ๆ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ล้าสมัยและไม่ให้ความคุ้มครองได้กว้างขวาง เพียงพอ และได้ความตามเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ว่า เหตุที่บัญญัติพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากบทบัญญัติในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ได้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้การตีความพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวยังไม่สอดคล้อง กับความใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 50 วรรคสอง และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 78 วรรคสอง ที่บัญญัติโดยใช้ถ้อยคำทำนองเดียวกันกับความในวรรคหนึ่งว่า งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ใช้บังคับ และไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ เช่น งานแพร่เสียงแพร่ภาพ งานรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่ และงานศิลปประยุกต์ ซึ่งมิใช่ลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและ ศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 แต่เป็นลักษณะงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 งานดังกล่าวจึงได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ภายใต้อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปี และ 25 ปี ตามมาตรา 19 มาตรา 21 และมาตรา 22 ตามลำดับ ย่อมแสดงให้เห็นว่า การตีความคำว่า “ให้ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้” ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือนำหลักเกณฑ์เรื่องอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการตีความไปตามบริบทของกฎหมายทั้งฉบับแล้ว ยังเป็นการตีความกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนด อายุแห่งการ คุ้มครองลิขสิทธิ์ในอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและ ศิลปกรรมที่ประ เทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ด้วย โดยอนุสัญญาดังกล่าวประสงค์ให้ประเทศภาคีสมาชิกกำหนดอายุการคุ้มครองงานอัน มีลิขสิทธ ิ์ประเภทงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมตั้งแต่ 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย หรือนับแต่วันได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก แล้วแต่กรณี ฉะนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า งานสร้างสรรค์ประเภทศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมภาพการ์ตูนโดราเอมอนของผู้ เสียหายตามฟ ้องมีอายุการคุ้มครองเพียง 30 ปี ขณะจำเลยกระทำความผิดคดีนี้พ้นกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่ผู้เสียหายโฆษณาภาพการ์ตูนดังกล่าวเป็นครั้งแรก จึงไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ต่อไป แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น
         มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการสุดท้ายว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งปัญหาข้อนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้ วินิจฉัย แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิจารณาคดีมาจน เสร็จสิ้น กระบวนความแล้ว คงเหลือแต่การพิพากษาคดีในส่วนนี้ อีกทั้งข้อหาตามฟ้องโจทก์นั้นไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไปเสียเลย โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง วินิจฉัยเสียก่ อน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาค ดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 เห็นว่า คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2549 ซึ่งยังอยู่ในกำหนดเวลาอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 50 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2512 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายได้โฆษณางานเป็นครั้งแรก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมลักษณะงาน จิตรกรรมภา พการ์ตูนโดราเอมอนของผู้เสียหายตามฟ้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ผู้เสียหายโดยการนำเสื้อเด็กซึ่งมีผู้ทำซ้ำและดัด แปลงขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อแสวงหากำไรทางการค้าเพียง 2 ตัว พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนัก ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายเพียงใด ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป โดยให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
         พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง
ให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี
ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ตามเงื่อนไขและกำหนดระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร ให้จำเลยละเว้นการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้ของกลางที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ ยกคำขอที่ให้จ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายซึ่ง เป็นเจ้าข องลิขสิทธิ์.

( ฐานันท์ วรรณโกวิท - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - บุญรอด ตันประเสริฐ )
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นางปราณี บุญโญภาส